ขณะนี้คุณอยู่ที่ > หน้าแรก > ประติมากรรม จรัล มโนเพ็ชร



ประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชร


ความเป็นมา
            ประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชรเกิดขึ้นจากความริเริ่มของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมืองในช่วงกลางปี พ.ศ. 2563 ในนามโครงการจรัลรำลึก (ค.จ.ร.) ได้ดำเนินการระดมทุนจากสาธารณชนในวงกว้างเป็นเงินจำนวนราว 500,000 บาท เพื่อสร้างประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชร ให้เป็นอนุสรณ์สถานเนื่องในวาระครบรอบ 20 ปีแห่งการจากไปของศิลปินที่มีคุณูปการต่อศิลปวัฒนธรรมล้านนาเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาทางเทศบาลนครเชียงใหม่ นำโดยนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ได้ให้การสนับสนุนสถานที่ในการจัดวาง ตั้งอยู่ภายในสวนสาธารณะหนองบวกหาด ซึ่งไม่ไกลจากย่านประตูเชียงใหม่อันเป็นบ้านเกิดของจรัล มโนเพ็ชร และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ณ ข่วงจรัลแห่งนี้

รายละเอียดเกี่ยวกับประติมากรรม
            แนวคิดการออกแบบประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชรของ ค.จ.ร.ให้ความสำคัญกับความสมจริง เรียบง่าย และให้ความรู้สึกเป็นกันเอง มีรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เกษรเกศรา เป็นผู้ออกแบบ โดยคุณอันยา โพธิวัฒน์ คู่ชีวิตของจรัล มโนเพ็ชร คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และมอบข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของจรัลให้เป็นแบบในการปั้น ประติมากรรมจึงมีขนาดเท่าตัวจริง อ้างอิงจากภาพของจรัลในชุดแต่งกายแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย นั่งดีดกีตาร์อยู่บนเก้าอี้ไม้ตัวยาว และมีซึงวางอยู่ด้านข้าง โดยได้อาจารย์ภูธิป บุญตันบุตร เป็นประติมากร มีอาจารย์อัษฎายุธ อยู่เย็นเป็นที่ปรึกษาด้านกายวิภาค จากนั้นจึงส่งมอบต้นแบบให้โรงหล่อกุลวัฒนาจัดทำแม่พิมพ์ และดำเนินการหล่อจนแล้วเสร็จ ประติมากรรมนี้เลือกใช้วัสดุเป็นทองเหลือง น้ำหนักรวมประมาณ 500 กิโลกรัม

 

ชีวิตและผลงาน จรัล มโนเพ็ชร

           
วัยเด็ก

จรัล มโนเพ็ชร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ในย่านที่เรียกว่าประตูเชียงใหม่ พ่อของเขาเป็นข้าราชการอยู่ที่แขวงการทางจังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ส่วนแม่ชื่อ เจ้าต่อมคำ (ณ เชียงใหม่) มโนเพ็ชร สืบเชื้อสายมาจากราชตระกูล ณ เชียงใหม่ จรัลเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494 เป็นลูกคนที่สอง มีพี่น้องชายหญิงรวมทั้งหมด 7 คน ครอบครัวเป็นชนชั้นกลาง มีชีวิตเรียบง่ายสมถะตามแบบวิถีชีวิตชาวเหนือทั่วไป ใฝ่ใจในพุทธศาสนา ทั้งพ่อและแม่ของจรัลจะไปทำบุญและร่วมงานพิธีทางศาสนาอยู่เสมอที่วัดใกล้บ้านคือวัดฟ่อนสร้อย ความที่เป็นครอบครัวใหญ่ พ่อของจรัลจึงต้องหารายได้พิเศษ ด้วยมีฝีมือในด้านงานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นที่สืบทอดตกมาจากบรรพบุรุษชาวเหนือ ทั้งการเขียนรูป และการแกะสลักไม้ พ่อของจรัลจึงมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว จรัลเองในเวลานั้นแม้จะอยู่ในวัยเด็ก แต่บางครั้งเมื่อพ่อมีงานพิเศษล้นมือ จรัลจะคอยช่วยเหลือพ่อของเขาในงานต่างๆ

การศึกษา
จรัลเข้าเรียนหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนพุทธิโสภณ แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนเมตตาศึกษา จากนั้นจึงสอบเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลเล่นกีตาร์มาตั้งแต่เด็กเพราะความชอบในดนตรี ทั้งจากที่เขาได้ฟังทางสถานีวิทยุในเชียงใหม่ และจากพวกมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภาคเหนือ ระหว่างที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวด้วยการทำงานเพื่อหารายได้พิเศษโดยไม่ต้องรบกวนเงินทองจากทางบ้าน เขาเริ่มต้นด้วยการรับจ้างร้องเพลงและเล่นกีตาร์ตามร้านอาหารหรือตามคลับบาร์ในเชียงใหม่ ดนตรีที่เขาชอบเป็นพิเศษคือ ดนตรีโฟล์คคันทรี และบลูส์ที่ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจ และมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแต่งเพลงของเขา เมื่อจบการศึกษาจากวิทยาลัย จรัลเข้าทำงานรับราชการเป็นงานแรกที่แขวงการทางอำเภอพะเยา ต่อมาจึงย้ายไปทำงานที่บริษัทไทยฟาร์มมิ่ง และที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จรัลยังคงทำงานประจำไปด้วยควบคู่กับการร้องเพลงตามร้านอาหาร โรงแรม และคลับบาร์ในเชียงใหม่
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 เมื่อบทเพลงโฟล์คซองคำเมืองของเขาเผยแพร่ไปทั่วประเทศ เพลงที่ได้รับความนิยมมีหลายเพลง เช่น อุ้ยคำ, สาวมอเตอร์ไซค์, ของกิ๋นคนเมือง, พี่สาวครับ ซึ่งเวลานั้นเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปินตะวันตกหลายต่อหลายคน ไม่ว่าจะเป็นปีเตอร์ พอล และแมรี, บ็อบ ดีแลน, จอห์นเดนเวอร์, พอล     ไซมอนกับอาร์ท การ์ฟังเกล ที่ถือเป็นต้นแบบการเล่นดนตรีของเขา ซึ่งส่งผลไปถึงการทำงานโฟล์คซองคำเมืองอันเป็นดนตรีในรูปแบบเฉพาะตัวของจรัลเอง
จรัลไม่เพียงชื่นชอบเสียงดนตรีสากลจากต่างประเทศ เขายังชื่นชอบบทเพลงสมัยก่อนแต่โบราณของชาวล้านนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจรัลเริ่มต้นแต่งเพลง บทเพลงของเขาจึงเป็นการผสมผสานแนวดนตรีตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน แม้จะเป็นการผสมผสานศิลปะดนตรีของตะวันออกกับตะวันตกก็ตาม แต่งานดนตรีของจรัลก็แฝงด้วยอัตลักษณ์ล้านนาที่ชัดเจน ทั้งท่วงทำนองและเนื้อหาของบทเพลงที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวล้านนาตั้งแต่ยุคแรก แม้จรัลจะมีชื่อเสียงขึ้นมา และเวลาจะผ่านไปเพียงใด แต่เขาก็ไม่เคยละทิ้งบทเพลงพื้นบ้านของล้านนา

ยุคแรก
บทเพลงคำเมืองของเขาแพร่กระจายไปทั่วในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งแปลกแตกต่างไปจากดนตรีล้านนาที่เคยได้ยินได้ฟังกันมา เพราะจรัลใช้กีตาร์และแมนโดลินมาแทนเสียงซึง ใช้ขลุ่ยฝรั่งแทนขลุ่ยไทย และเขายังใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่อีกมากมายมาบรรเลงบทเพลงเก่าแก่ของล้านนาตามแบบฉบับโฟล์คซองคำเมืองของเขา จรัลพูดว่า “บทเพลงแบบเก่าๆ นั้นมีคนทำอยู่มากแล้วและก็ไม่สนุก สำหรับผมที่จะไปเลียนแบบของเก่าเสียทุกอย่าง” ในยุคแรกๆ นั้นจรัลทำงานดนตรีร่วมกับพี่น้องของเขาในตระกูลมโนเพ็ชรคือ น้องชายสามคนที่ชื่อกิจจา, คันถ์ชิด และเกษม รวมทั้งมักจะมีนักร้องหญิงชื่อสุนทรี เวชานนท์ร่วมร้องเพลงด้วย แต่ต่อมาทั้งหมดก็แยกทางกันไปตามวิถีของแต่ละคน
การสร้างสรรค์งานดนตรีของเขาแตกต่างจากงานเก่าๆ ส่งผลให้บทเพลงเก่าแก่ของล้านนากลับมาได้รับความสนใจจากวัยรุ่นในยุคนั้น แทนที่จะหายไปตามกาลเวลาและสมัยนิยม จรัลได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็นนักแต่งเพลงฝีมือเยี่ยมที่แม้บรรดาศิลปินเพลงด้วยกันต่างก็ยอมรับ เขาเชี่ยวชาญการแต่งเพลงหลายรูปแบบแต่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือ บทเพลงแบบบัลลาด ซึ่งเป็นบทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนของท้องถิ่นล้านนาอันเป็นบ้านเกิดของเขา จรัลพูดถึงการแต่งเพลงเองร้องเพลงเองของเขาว่า “..มันเป็นงานที่เป็นตัวตนจริงๆ แท้ๆ จากใจในเมื่อผมเป็นนักร้องแต่ไม่อยากร้องเพลงของคนอื่น ผมจึงต้องเขียนเพลงของตัวเอง เป็นเพลงที่ผมอยากร้อง มันทำให้ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ ไม่ต้องอาศัยให้ใครมาสร้างภาพลักษณ์..”

ยุคหลัง
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา ราวสิบปีก่อนจะเสียชีวิต งานดนตรีของเขาเป็นการทำงานเพียงลำพังอย่างแท้จริง แต่ด้วยความสามารถอันสูงส่ง งานดนตรีของเขากลับพัฒนายิ่งขึ้น โดยที่เขายังคงแต่งเพลงเอง ร้องเอง เล่นดนตรีเอง และจรัลยังเรียบเรียงเสียงดนตรีเองอีกด้วย จนทำให้เขาได้รับรางวัลดนตรีสีสันอวอร์ดในปี พ.ศ. 2538 โดยเป็นศิลปินชายเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลถึง 3 รางวัลในครั้งนั้น จากผลงานศิลปินป่า ทั้งในฐานะศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม เพลงยอดเยี่ยม และอัลบั้มยอดเยี่ยม
เมื่อจรัลโยกย้ายจากเชียงใหม่ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ นอกจากมีกิจการร้านอาหารและทำงานเพลงแล้ว บางครั้งจรัลยังรับงานแสดงภาพยนตร์และละคร และแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์และละครเหล่านั้นด้วย ความสามารถในด้านนี้ทำให้ต่อมาจรัลได้รับรางวัลใหญ่ทางด้านการแสดงอีกหลายรางวัล
ในปี พ.ศ. 2539 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดทำดนตรีจตุรภาคโดยรวบรวมนักดนตรีฝีมือเยี่ยมจากทั่วทุกภาคของประเทศมาแต่งเพลงเพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสนี้ จรัลที่ขณะนั้นมีอายุเพียง 45 ปีก็ได้รับเชิญในฐานะครูเพลงภาคเหนือ เขาแต่งเพลงชื่อว่าฮ่มฟ้าปารมี เป็นเพลงที่ไพเราะมาก จนต่อมาแพร่หลายในวงกว้าง และในที่สุดสถาบันการศึกษาด้านศิลปะการดนตรีในจังหวัดเชียงใหม่ก็ได้นำเพลงนี้ไปใช้ประกอบการสอนในสาขานาฏศิลป์ ปัจจุบันนี้มีผู้คิดท่าฟ้อนรำสำหรับบทเพลงนี้โดยเฉพาะเรียกว่าฟ้อนฮ่มฟ้าปารมี
ช่วงชีวิตการทำงานศิลปะการดนตรีของจรัลเริ่มในปี พ.ศ. 2520 และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2544 เมื่อจรัลเสียชีวิตจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน โดยที่ก่อนเสียชีวิตนั้น จรัลกำลังตั้งใจทำงานเพลงในโอกาสที่โฟล์คซองคําเมืองของเขายืนยาวมาถึง 25 ปี โดยตั้งใจจะใช้ชื่อว่า 25 ปีโฟล์คซองคำเมืองจรัล มโนเพ็ชร

การเสียชีวิต
ข่าวการเสียชีวิตของจรัลจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 จังหวัดลำพูน สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศ ผู้คนเรือนหมื่นร่วมเดินทางไปส่งสการร่างของเขาในวันพระราชทานเพลิงศพ ณ บริเวณสุสานบ้านหลวย ในวันที่ 8 กันยายน 2544
นอกจากการขนานนามที่เขาได้รับมาตลอดว่าเป็นราชาโฟล์คซองคำเมืองแล้ว ผู้คนยังได้ยกย่องและเรียกเขาด้วยสมญานามต่าง ๆ นานา ศิลปินล้านนาแห่งยุคสมัย ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา มหาคีตกวีล้านนา แก้วก๊อล้านนา นักรบวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น ฯลฯ
 

รายนามคณะกรรมการจรัลรำลึก (ค.จ.ร.)
1. ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ ประธานฝ่ายสถานที่
2. รศ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว ประธานฝ่ายวิชาการ
3. รศ.ดร.สุกรี เกษรเกศรา ประธานฝ่ายออกแบบ
4. อ.ภูธิป บุญตันบุตร ฝ่ายงานประติมากรรม
5. คุณพุทธชาติ หงสกุล ประธานฝ่ายกิจกรรม-โสตทัศนศิลป์
6. อ.เปีย วรรณา ฝ่ายจัดรายการและงานประชาสัมพันธ์
7. คุณสุนิสา อินต๊ะพิงค์ ฝ่ายข่าวสารและงานประชาสัมพันธ์
8. คุณอารยา ฟ้ารุ่งสาง ประธานฝ่ายสิ่งพิมพ์ และประสานงานเยาวชน
9. คุณเครือวัลย์ ไชยอำมาตย์ ประธานฝ่ายประสานงานเชียงใหม่-ลำพูน
10. รศ.ดร.วสันต์ จอมภักดี ฝ่ายประสานงานภายนอก
11. อ.แสวง มาละแซม ฝ่ายการเงิน และรองประธาน
12. ศ.เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ฝ่ายกิจกรรมวิชาการ และประธาน
 

20 years without a musical legend



       WRITER: TANET CHAROENMUANG
        PUBLISHED : 3 SEP 2021 AT 04:00

 
Tomorrow will mark the twentieth anniversary of the passing of Jaran Manophet, the famous folk song singer and much loved native of Chiang Mai.

His songs -- many of them in the local Lanna (northern) dialect had lyrics illustrating changes in the local community and the hardship that local folk had to swallow as agrarian society Thailand tried to modernise. Yet, tomorrow will also mark an unprecedented chapter in community history. There will be the unveiling of a sculpture -- life-size and made of bronze, of Jaran. This sculpture will be later installed at the Jaran Manophet memorial site near the City Wall in Muang Chiang Mai.

The memorial site and the sculpture will be the first monument ever to be constructed and managed by the local community. In Thailand, most monuments and sculptures are built by the state and the majority are sculptures of rulers, kings, soldiers or national heroes.

Jaran was not a national hero. The late artist was just an ordinary man from a humble background with an oversized gift for music and song writing. Jaran was a beloved native of Chiang Mai, a pride of the ancient northern city. Many of his songs have continued to be played every year and the Lanna community there has not been able to find another artist to take his place.

The singer was born in 1951 to a well-learned artist family. Even though his parents were educated, they were middle class with a modest income. Jaran was an ace student and he needed to work to support his five younger brothers to go to school after he graduated from a vocational school, Payap Technical College.

Growing up in the 1960s when US military and economic influence increased in Thailand due to the Indochina War, teenager Jaran quickly picked up Western musical magic including the Beatles, Elvis Presley, Jimmy Hendrix, and Peter, Paul & Mary. With a Sueng (Lanna four-string guitar), Jaran quickly learned to master guitar playing. Further, he brought the rhyme of Western songs (500 miles, A Man from Egypt, Lemon Tree and Tiny Sparrow) and blended them with local songs and rhymes that he composed. His local songs were very well received, but no one recognised the partial origin from the West.

For 24 years (1977-2001) as a famous singer, Jaran composed around 300 songs. Half were in Lanna and the other in official Thai. His songs managed to break many barriers in the mainstream music industry at that time. First, many of his hit songs are in the Lanna dialect; it was the first time that a local dialect singer -- some of them local poems, managed to capture a nationwide audience. Second, most of the lyrics illustrated changes in local communities. Third, they covered aspects of history, culture, social problems, especially the conflict between materialism and local people's mindsets. Fourth, the local language songs emboldened the local identity of northerners that also impressed audiences in the Central region. Fifth, his songs called for love and concern for locality, nature and the environment, as well as the working class both in town and the countryside. Lastly, in many songs, the singer called for a life with dreams and hopes, community, and social improvement.

Besides, Jaran was very active in a number of social service activities, for example, giving funds to rural students, teaching art projects to young students, musical learning and composing dramas for young students. Jaran organised several national performances inviting Lanna artists from the eight northernmost provinces to participate and also planned to set up a local art promotion centre.

As an individual, Jaran was a man of politeness, modesty, simplicity and friendliness.

Shortly after his cremation in mid-September 2001, a proposal was submitted to the mayor of Chiang Mai Municipality to construct a monument in memory of this great local artist. Many years passed without any progress until last year.

In May last year, a group of eight local academics from Chiang Mai University and Chiang Mai Rajabahtr University formed the Jaran Memorial Committee and launched a campaign to collect donations of 500,000 baht from people nationwide in order to construct a monument. Amid the pandemic and limited public gatherings, the donations slowly grew and reached the target at the end of the year.

The committee listened to views on the monument plan and came to the conclusion that the bronze monument should be made life-size with a guitar sitting on a long bench and a Sueng leaning beside it. The earthen, wax and bronze work began in March this year and the monument was completed at the end of August. The committee proposed to set up the monument in front of the Lanna Local Museum opposite the Three Kings Monument in downtown Chiang Mai. The purpose was to enable both locals and visitors to see the local legend, feel proud, be inspired by, and learn from him in the town centre. The province and municipality disagreed with the proposal and instead chose Suan Buak Haad, a public park near Chiang Mai Gate and not far from Jaran's birthplace.

However, since the municipality first has to improve the park, the monument is expected to be erected in mid-December this year. Hopefully, the Covid-19 pandemic should be gone by the time. The opening ceremony may take place on 1 Jan 2022 since Jaran was born on that day and would have turned 71 if he had lived.

The memorial will be a reminder of the local artist and his message. As per the lyrics of one of Jaran's most popular songs: "Let me carry on your dreams, to bring about great beauties." Twenty years after his death, Jaran's dreams live on.
**เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/2175695/20-years-without-a-musical-legend 
   วันที่ 3 กันยายน 2564
  • Share this post!
แนะนำเทศบาล   + ข้อมูลทั่วไป   + บุคลากร   + หน่วยงานภายใน
เอกสาร/รายงาน   - แผนพัฒนาท้องถิ่น   - เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี   - รายงานการติดตามประเมินผล   + งานกิจการสภาเทศบาลนครเชียงใหม่   - รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. (LPA)   - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ(ITA)   - รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลฯและประชาคมท้องถิ่น   + รายงาน/เอกสารดาวน์โหลดอื่นๆ   + การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA) 2023
ประกาศต่างๆ   + ประกาศราคากลาง   + ข่าวประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)   + ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา   + ประกาศสมัครงาน/รับโอน   - มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต   + ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่   - TIA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลบริการ   - ถามตอบ   - ติดต่อเรา   + ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง   + ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลนครเชียงใหม่   + กองการเจ้าหน้าที่   - ประกาศความเสี่ยงด้านทุจริต   - รวบรวมผลงานที่ผ่านมา   - รายงานผลข้อร้องเรียน   + ฐานข้อมูลตลาด   - คู่มือประชาชน   - คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่   - E-Service   - แบบฟอร์ม Download (สำหรับประชาชน)   - คลองแม่ข่า
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๑ ถนนวังสิงห์คำอ.เมือง จ.เชียงใหม่
053-259000

©Copyrights. All rights reserved. ©สงวนลิขสิทธิ์เทศบาลนครเชียงใหม่