ขณะนี้คุณอยู่ที่ > หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > ข่าวกิจกรรม

ไม้หมายเมือง


19 มิถุนายน 2566 405

‘ไม้หมายเมือง’ เป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่เคยพบเห็นในอดีต เป็นหมุดหมายของเมืองและบอกเล่าประวัติศาสตร์ เช่น ต้นยางนาของจังหวัดเชียงใหม่ ต้นขี้เหล็กของจังหวัดลำพูน
คำว่า ‘ไม้หมายเมือง’ ถูกเรียกโดย อาจารย์สมพร ยกตรี ปราชญ์ด้านพรรณไม้ล้านนา ผู้ได้รับยกย่องให้เป็น ‘เก๊าไม้ล้านนา’ เป็นคนแรก ให้ความหมายของไม้หมายเมืองว่า เป็นภูมินามของสถานที่อันเกี่ยวข้องกับสถานที่นั้น ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือเป็นการสร้างเอกลักษณ์และจุดหมายตา ที่ชัดเจนด้วยการใช้พืชหรือต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้แต่ไกลเพื่อมิให้หลงทาง โดยในอดีตชาวล้านนาเชื่อว่า ไม้หมายเมืองเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่มาก เป็นต้นไม้ที่กษัตริย์คอยอุ้มชู เพราะเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่และแสดงถึงจิตวิญญาณของเมือง

ตามตำนานเล่าว่า 'ต้นยางใหญ่' ถูกเลือกให้ปลูกที่วัดเจดีย์หลวงเพื่อคู่กับเสาอินทขีล ซึ่งถือว่าเป็น ‘ใจเมือง’ หรือศูนย์กลางของเมือง และต้นยางนาเป็น ‘เสื้อเมือง’ อันเป็นสถานที่รวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องเมือง ต้นยางนาต้นนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างหออินทขีลและศาลพญายักขราช (ศาลใต้) ภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ว่ากันว่ามีอายุประมาณ 220 ปีแล้ว มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปลูกต้นไม้ต้นนี้ คือเป็นต้นไม้ที่ปลูกในสมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 วงศ์ทิพจักร (พ.ศ. 2324 – 2358) สันนิษฐานว่านำกล้าพันธุ์มาจากเขมรัฐตุงคบุรี หรือเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา แต่ก็มีอีกความเชื่อว่าเกิดจากยุคที่ชาวไทลื้อถูกกวาดต้อนเข้ามา ต้นยางถูกปลูกเพราะเป็นไม้สำคัญ เป็นขวัญกำลังใจของชาวไทลื้อ อีกหน้าที่ของมันก็คือการทำหน้าที่บอกคนรุ่นหลังว่าผู้ที่เดินทางมาในอดีตก่อนหน้าได้มาถึงเชียงใหม่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีคำที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน ได้แก่ ‘ไม้หมายถิ่น’ คือสถานที่ที่ตั้งชื่อตามแหล่งพันธุ์ไม้ เพื่อเอื้อต่อการจดจำสถานที่นั้น ๆ เช่น ตลาดต้นลำไย ตลาดต้นพยอม ฯลฯ และ ‘ไม้หมายทาง’ เป็นต้นไม้ใหญ่ต้นสำคัญที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกับสถานที่เก่าแก่

อ้างอิง :
อนิรุทร์ เอื้อวิทยา. (2563). คุยกับอาจารย์ภูมิสถาปัตย์ผู้ใช้ ‘ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์’ ผลักเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก. สืบค้นเมื่อ 25 พ.ค. 63, จาก https://adaymagazine.com/warong-wonglangka/...

สุทธิดา อุ่นจิต. (2561). ความฮักสีเขียว. สืบค้นเมื่อ 25 พ.ค. 63, จาก https://readthecloud.co/tcp-spirit-chiangmai/

ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่

ภาพถ่าย: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ 

Gallery

  • Share this post!
แนะนำเทศบาล   + ข้อมูลทั่วไป   + บุคลากร   + หน่วยงานภายใน
เอกสาร/รายงาน   - แผนพัฒนาท้องถิ่น   - เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี   - รายงานการติดตามประเมินผล   - แผนพัฒนาการศึกษา   + งานกิจการสภาเทศบาลนครเชียงใหม่   - รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. (LPA)   - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ(ITA)   - รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลฯและประชาคมท้องถิ่น   + รายงาน/เอกสารดาวน์โหลดอื่นๆ   + การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA) 2023
ประกาศต่างๆ   + ประกาศราคากลาง   + ข่าวประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)   + ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา   + ประกาศสมัครงาน/รับโอน   - มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต   + ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่   - TIA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลบริการ   - ถามตอบ   - ติดต่อเรา   + ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง   + ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลนครเชียงใหม่   + กองการเจ้าหน้าที่   - ประกาศความเสี่ยงด้านทุจริต   - รวบรวมผลงานที่ผ่านมา   - รายงานผลข้อร้องเรียน   + ฐานข้อมูลตลาด   - คู่มือประชาชน   - คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่   - E-Service   - แบบฟอร์ม Download (สำหรับประชาชน)   - คลองแม่ข่า
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๑ ถนนวังสิงห์คำอ.เมือง จ.เชียงใหม่
053-259000

©Copyrights. All rights reserved. ©สงวนลิขสิทธิ์เทศบาลนครเชียงใหม่