ขณะนี้คุณอยู่ที่ > หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > ข่าวกิจกรรม

ประตูเมืองเชียงใหม่


27 พฤษภาคม 2566 5,822

เดือนหน้าเราจะเข้าสู่ประเพณีการทำบุญเมืองแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ในประเพณีนี้จะทำทั้งหมด 10 จุดสำคัญของเมืองเชียงใหม่ด้วยกันนั่นคือ 5 ประตูเมือง 4 แจ่งเมือง และ 1 ใจกลางเวียง วันนี้ทางเทศบาลนครเชียงใหม่จึงอยากนำเสนอความสำคัญของประตูเมืองเชียงใหม่ ทั้ง 5 ประตูกันครับ

••••••••••••••••••••••••••••••••••

• ประตูช้างเผือก เดิมมีชื่อว่า “ประตูหัวเวียง” เป็นประตูชั้นในด้านทิศเหนือ เป็นประตูเดชของเมือง ในพระราชพิธีบรมราชาพิเษก กษัตริย์จะเสด็จเข้าเมืองยังประตูนี้ ประตูนี้เปลี่ยนชื่อในรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 เนื่องจากได้โปรดให้สร้างอนุสาวรีย์รูปช้างเผือกขึ้น 

• ประตูเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางด้านใต้ ในอดีตเป็นเส้นทางสำคัญระหว่างเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามและลำพูน ในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1804 – 2101) ทั้งเชียงใหม่ กุมกาม และลำพูน ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำปิงเช่นเดียวกัน การเดินทางจึงไม่ต้องข้ามแม่น้ำปิง และยังเป็นศูนย์รวมของสล่าหรือช่างในบริเวณชุมชนแถวนี้

• ประตูสวนดอก ตั้งอยู่ทิศตะวันตก ประตูด้านนี้เป็นทางออกไปสู่อุทยานของกษัตริย์ สมัยพญากือนา พ.ศ. 1914 ได้สร้างวัดบนพื้นที่อุทยานจึงเรียก วัดสวนดอก และในช่วงนั้นพญากือนาสร้างเวียงสวนดอกด้วย 

• ประตูเชียงเรือก ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน มีบ้านเชียงเรือกตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมือง เดิมบ้านเชียงเรือกเป็นชุมชนค้าขายเพราะเป็นที่ตั้งของตลาดเชียงเรือก ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ ชื่อประตูเชียงเรือก เปลี่ยนมาเป็น ประตูท่าแพชั้นในเพื่อให้คู่กับประตูท่าแพชั้นนอก ซึ่งอยู่บนถนนสายเดียวกัน ชื่อประตูท่าแพ หมายถึง ประตูชั้นนอกตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดแสนฝาง ต่อมาบ้านเรือนขยายตัว ประตูท่าแพชั้นนอกได้สลายไปเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อสั้นๆ ว่า ประตูท่าแพ สำหรับประตูท่าแพในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2528 – 2529 โดยอาศัยภาพถ่ายเก่าประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 
• ประตูแสนปุง ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับประตูเชียงใหม่ เฉพาะกำแพงเมืองด้านใต้เท่านั้นที่มีสองประตู ประตูนี้สันนิษฐานอาจเจาะภายหลังคือไม่ได้สร้างพร้อมกับสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839 อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการเจาะประตูนี้ สันนิษฐานที่ชื่อ แสนปุง เพราะเป็นทางออกไปสู่บริเวณที่มีเตาปุง (เตาไฟ) มากมาย เพราะด้านนอกประตูเป็นที่อยู่ของกลุ่มช่างหลอมโลหะจึงมีเตาปุงไว้หลอมโลหะจำนวนมากเปรียบนับแสน ปัจจุบันยังมีบ้านช่างหล่อพระพุทธรูปอาศัยอยู่ และถนนเลียบคูเมืองด้านนี้ชื่อถนนช่างหล่อจากความเชื่อเรื่องทิศและพื้นที่ถือเป็นเขตกาลกิณี จึงกำหนดให้ประตูแสนปุงเป็นทางออกไปสุสาน เวลามีประชาชนเสียชีวิตในเมือง หรือชาวบ้านที่อาศัยในเขตในเมือง จะต้องนำศพออกที่ประตูนี้เท่านั้น
 
เรียบเรียงข้อมูลและภาพถ่าย : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครเชียงใหม่

ข้อมูล: สุรัสวดี อ๋องสกุล “ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน”, 2543 “กำแพงเมืองเชียงใหม่” อนุสรณ์เนื่องในพิธีเปิดและฉลองประตูท่าแพ, 2529

Gallery

  • Share this post!
แนะนำเทศบาล   + ข้อมูลทั่วไป   + บุคลากร   + หน่วยงานภายใน
เอกสาร/รายงาน   - แผนพัฒนาท้องถิ่น   - เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี   - รายงานการติดตามประเมินผล   + งานกิจการสภาเทศบาลนครเชียงใหม่   - รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. (LPA)   - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ(ITA)   - รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลฯและประชาคมท้องถิ่น   + รายงาน/เอกสารดาวน์โหลดอื่นๆ   + การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA) 2023
ประกาศต่างๆ   + ประกาศราคากลาง   + ข่าวประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)   + ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา   + ประกาศสมัครงาน/รับโอน   - มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต   + ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่   - TIA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลบริการ   - ถามตอบ   - ติดต่อเรา   + ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง   + ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลนครเชียงใหม่   + กองการเจ้าหน้าที่   - ประกาศความเสี่ยงด้านทุจริต   - รวบรวมผลงานที่ผ่านมา   - รายงานผลข้อร้องเรียน   + ฐานข้อมูลตลาด   - คู่มือประชาชน   - คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่   - E-Service   - แบบฟอร์ม Download (สำหรับประชาชน)   - คลองแม่ข่า
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๑ ถนนวังสิงห์คำอ.เมือง จ.เชียงใหม่
053-259000

©Copyrights. All rights reserved. ©สงวนลิขสิทธิ์เทศบาลนครเชียงใหม่