ขณะนี้คุณอยู่ที่ > หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > ข่าวกิจกรรม

ประเพณีการก่อเจดีย์ทราย


22 มีนาคม 2566 3,221


เข้าสู่ช่วงเดือนเมษยนของทุกปี ชาวไทยทุกคนต่างก็ตั้งตารอประเพณีวันสงกรานต์ วันแห่งกาลเปลี่ยนผ่านจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของหลายพื้นที่ในอุษาคเนย์
• เมื่อถึงเช้าของวันพญาวัน ชาวล้านนาจะนำ “ตุงไส้หมู” หรือตุงที่มีรูปสัตว์นักษัตรที่เรียกว่า “ตุงตั๋วเปิ้ง” ไปปักที่เจดีย์ทรายเพื่อเตรียมถวายองค์พระเจดีย์ทรายแด่พระสงฆ์ในช่วงสาย ซึ่งชาวบ้านจะมาร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเพรียงกัน
--- วาลุกเจดีย์ ---
ก่อเจดีย์ทรายเพื่ออานิสงส์ผลบุญ
• การขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเป็นเจดีย์ทรายเป็นประเพณีที่ชาวล้านนาปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ ด้วยเชื่อว่า ในอดีตการสร้างวัดของคนล้านนาจะเป็นการจำลองโลกตามคติไตรภูมิ คือ วิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเปรียบเสมือนเขาสิเนโรบรรพตที่ประทับของพระพุทธเจ้า ล้อมรอบวิหารด้วยทรายขาวสะอาดที่เป็นเสมือนมหาสมุทรสีทันดร ชาวล้านนาจึงมีความเชื่อว่า ทุกครั้งที่เหยียบย่างเข้าไปในวัดแล้วมีทรายติดเท้าออกมาด้วยนั้นเป็นบาป เมื่อถึงช่วงวันปีใหม่จึงต้องขนทรายกลับไปคืนวัด
• อีกทั้งในคัมภีร์ใบลานธรรมอานิสงส์ปีใหม่ ได้กล่าวว่า ผู้ใดได้ถวายทรายหรือขนทรายเข้าวัดแล้วจะได้รับอานิสงส์ผลบุญให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนนาน พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติมากมาย
• เมื่อมีการขนทรายเข้ามามากขึ้น จึงมีการสร้างเจดีย์ทรายโดยใช้ไม้ไผ่สานมาขดให้เป็นวงกลม แล้วนำทรายมาถมให้เต็มเป็นชั้น ๆ เวียนขึ้นไปจนทรงคล้ายกับเจดีย์ เรียกว่า วาลุกเจดีย์ (วา – ลุ – กะ เจดีย์) หรือเจดีย์ทราย
--- ตำนานความเชื่อของประเพณีก่อเจดีย์ทราย ---
• มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานความเชื่อของการก่อเจดีย์ทรายเรื่องหนึ่งว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ 8 หมื่น 4 พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว
• พระพุทธเจ้าตรัสว่า “การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง 8 หมื่น 4 พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร” จึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนปัจจุบัน
• อีกตำนานหนึ่งในคัมภีร์ใบลานชื่อ “ธรรมอานิสงส์เจดีย์ทราย” เล่าว่า ในครั้งที่พระโพธิสัตว์เกิดเป็นชายชื่อ “ติสสะ” มีอาชีพตัดฟืนขาย วันหนึ่งเขาได้พบลำธารที่มีหาดทรายสะอาดงดงาม จึงทำการก่อทรายเป็นรูปเจดีย์ และฉีกเสื้อผูกกับเรียวไม้ปักเป็นธงไว้บนยอดกองทราย แล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า หลังจากเวียนว่ายในวัฏสงสารและได้บำเพ็ญบารมีเต็มที่แล้ว ก็ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าชื่อสมณโคดมองค์ปัจจุบัน
• ประเพณีการก่อเจดีย์ทรายของชาวล้านนาจึงเกี่ยวโยงกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นกุสโลบายของคนโบราณที่ปลูกฝังความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม สร้างความสามัคคีให้แก่ลูกหลาน และการก่อเจดีย์ทรายยังเป็นประเพณีที่ช่วยให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้มีโอกาสเข้าวัดทำบุญ ใกล้ชิดกับพุทธศาสนามากขึ้น
• ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัดเชียงใหม่ในปีนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่ขอเชิญชวนประชาชน และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมประเพณีการขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเป็นเจดีย์ทรายถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และร่วมสืบสานประเพณีไทยให้คงอยู่สืบไป
โดยจะจัดให้มีกิจกรรมการประกวดเจดีย์ทรายขึ้น ณ ข่วงประตูท่าแพ ในวันที่ 12 เมษายน 2566
สำหรับหลักเกณฑ์และรายละเอียดการรับสมัครเข้าร่วมประกวด โปรดติดตามข่าวสารทางเพจ Facebook: เทศบาลนครเชียงใหม่
ข้อมูล: หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 กรมศิลปากร
#เทศบาลนครเชียงใหม่
#ChiangMaiMunicipality
#ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่

Gallery

  • Share this post!
แนะนำเทศบาล   + ข้อมูลทั่วไป   + บุคลากร   + หน่วยงานภายใน
เอกสาร/รายงาน   - แผนพัฒนาท้องถิ่น   - เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี   - รายงานการติดตามประเมินผล   - แผนพัฒนาการศึกษา   + งานกิจการสภาเทศบาลนครเชียงใหม่   - รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. (LPA)   - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ(ITA)   - รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลฯและประชาคมท้องถิ่น   + รายงาน/เอกสารดาวน์โหลดอื่นๆ   + การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA) 2023
ประกาศต่างๆ   + ประกาศราคากลาง   + ข่าวประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)   + ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา   + ประกาศสมัครงาน/รับโอน   - มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต   + ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่   - TIA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลบริการ   - ถามตอบ   - ติดต่อเรา   + ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง   + ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลนครเชียงใหม่   + กองการเจ้าหน้าที่   - ประกาศความเสี่ยงด้านทุจริต   - รวบรวมผลงานที่ผ่านมา   - รายงานผลข้อร้องเรียน   + ฐานข้อมูลตลาด   - คู่มือประชาชน   - คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่   - E-Service   - แบบฟอร์ม Download (สำหรับประชาชน)   - คลองแม่ข่า
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๑ ถนนวังสิงห์คำอ.เมือง จ.เชียงใหม่
053-259000

©Copyrights. All rights reserved. ©สงวนลิขสิทธิ์เทศบาลนครเชียงใหม่